วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

🌈บันทึกครั้งที่ 3 🌈

วันพฤหัสบดี  ที่ 22  สิงหาคม พ.ศ.2562


🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
🍀Educational Networking   การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
🍀Understanding การสร้างความเข้าใจ
🍀Behavior change  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
🍀Parental Involvement  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
🍀Role of parent  บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
🍀Parent education model  รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง
🍀Formal education   การให้ความรู้แบบเป็นทางการ
🍀Informal education   การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ

ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
🌺Linda  Bierstecker, 1992  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง (parenteducation) หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้

🌺กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2544) กล่าวว่า การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองนี้มีหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะสร้างให้ผู้ปกครองมีความรู้ของการเป็นผู้ปกครองและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างเต็มศักยภาพ

ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

🐙อรุณี  หรดาล (2536)  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความสำคัญดังนี้
  1. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก
  2. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดู
  3. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงผลของการกระทำของตนเองที่จะมีต่อเด็กอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง

  วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
    1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
    2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
    3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
    4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
    5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
🌼กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2542)  ได้แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแบบผสมผสานเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทยเป็น 4 ระดับ ดังนี้
    1. ระดับห้องเรียน
    2. ระดับโรงเรียน
    3. ระดับชุมชน
    4. ระดับมวลชน
แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
🐬หลักการและแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมนั้น อยู่บนพื้นฐานความคิดของการสร้างความสัมพันธ์อันดี กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ขึ้นอยู่กับทางโรงเรียนจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ครอบครัว เจตคติและความเชื่อของผู้ปกครอง โดยอาจจัดหลายกิจกรรมประกอบกัน ทั้งนี้ทางโรงเรียนต้องชี้แจงให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและจักกิจกรรมให้ตรงตามความต้องการของผู้ปกครอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านความสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมและยึดผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ

คำถามท้ายบท
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ 1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
         2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
         3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
        4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
        5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
2. ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
ตอบ  - การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
           - การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
  3. นักศึกษามีแนวคิดอย่างในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ เสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ สร้างลักษณะนิสัยที่ดี รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กขณะอยู่บ้าน  เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง หัดให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง ช่วยให้คำแนะนำเด็กเกี่ยวกับการทำงานที่ครูมอบหมาย การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นต้น
  4.  องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ  1.พัฒนาการของเด็ก
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดู
  3. ผลของการกระทำของตนเองที่จะมีต่อเด็กอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
  4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
  5. มีความรู้และฝึกทักษะ เทคนิคและวิธีการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
  6. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้ปกครอง ซึ่งจะมีผลดีต่อตัวเด็กโดยตรง


assessment teacher👨

✔️ คุณครูบาสอธิบายเนื้อหารายละเอียดได้ดี มีการยกตัวอย่างประกอบ ทำให้เข้าใจได้มากขึ้น


assessment friend 🚶🚶
✔️ เพื่อนๆตั้งใจเรียนและเข้าเรียนตรงเวลา

assessment me👩
✔️ ตั้งใจเรียนและไม่คุยเสียงดัง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น